Thursday, June 30, 2016

ใบจุด

เมื่อประมาณ 8-9 ปีที่แล้วหลังจากที่เราสามารถจัดการกับ
โรครากเน่าจากเชื้อราพริเที่ยมด้วยไตรโคเดอร์มาได้แล้วอา
จารย์จิระเดชได้มาที่ฟาร์มตอนนั้นโรคใบจุดยังไม่ระบาดและยังไม่เป็นที่รู้จักแต่เริ่มมีให้เห็นบ้างถ้าสังเกตุดีๆผมได้ชี้ให้อาจารย์ดูแล้ว บอกอาจารย์ว่าใบผักที่เป็นลักษณะนี้น่าจะเป็น ปัญหากับพวกเราในอนาคตแน่อาจารย์บอกว่ามัน คือ "โรคใบจุด"แล้วอาจารย์ก็ถามผมว่า "คุณรู้ได้อย่างไร" ผมตอบอาจารย์ไปว่า "จากประสพการณ์ที่ผมเคยเลี้ยงไก่มาก่อน พอผมจัดการโรคหรือปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นได้แล้วม้นก็จะมีโรคและปัญหาใหม่ๆตามมาให้เราแก้อีกเพราะฉนั้นผมคิดว่าไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรมันจะมีปัญหาใหม่มาให้แก้อยู่ตลอด ดังนั้นเราควรเตรียมพร้อมและศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเพื่อ
เมื่อเวลามีปัญหาเข้ามาเราจะได้จัดการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้"
โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราหลักๆ 3 ชนิด ดังนี้
 1.เชื้อราเซอร์โคสปอร์รา(Cerospora   sp.)
 2.โครีนีสปอร์รา (Corynespora   sp.)
 3.อัลเทอร์นาเรีย   (Alternaria   sp.)  
   ทำใก้เกิดใบเป็นจุดดำขนาดตั้งแต่ไข่ปลาจนถึงขนาดเท่า
ตากบ ผักที่เป็นใบจุดจะโตช้า ใบที่เป็นจุดจะขายไม่ได้ต้อง เด็ดทิ้งมักเกิดการระบาดในช่วงที่มีฝนตกการระบาดจะมาก
หรือน้อยขึ้นอยูกับปัจจัยเหล่านี้
1.ถ้าหลังจากฝนตกแล้วอากาศร้อนอบอ้าวจะระบาดมากแต่ถ้าหลังฝนตกแล้วมีลมพัดแล้วอากาศไม่ร้อนการระบาดจะน้อย
2.ปริมาณเชื้อที่ฟุ้งกระจายในอากาศถ้ามีมากการระบาดจะมาก
3.ความแข็งแรงของผักและความต้านทานโรค(ถ้าใช้ไตรโครเดอร์มาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยได้)
4.สภาพพื้นที่การปลูกถ้ามีอากาศถ่ายเทได้ดีและไม่อับชื้นจะช่วยลดการระบาดได้
5.อุณหภูมิถ้าเย็นจะระบาดน้อยหรือไม่ระบาดเลย

วิธีการป้องกัน
1.ทำบริเวณปลูกให้อากาศถ่ายเทได้ดี เช่น ตัดหญ้า ตัดแต่ง กิ่งไม้ที่ขวางทางลมออก ถ้าเป็นโรงเรือนควรมีพัดลมเป่าให้ อากาศถ่ายเท โดยไม่ควรเป่าไปที่ใบหรือต้นผักโดยตรง
2.ปรับค่า EC  และ pH สม่ำเสมอและใส่ไตรโคเดอร์มาเพื่อ ให้ผักแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรค
3.ฉีดพ่นไตรโคเดอร์มาที่ให้ออกซิเจนแล้ว 24 ขั่วโมง ทุกๆ 3-5 วันต่อครั้ง
4.ตัดใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการสร้างความเป็นพิษและสปอร์เพิ่ม เราจะพบว่าเวลามีการระบาดของ โรคใบจุดมันจะเริ่มที่ใบล่างๆ ก่อน คือ ใบแก่นั่นเอง ที่เป็นเช่น นี้เพราะเวลาที่สปอร์ของเชื้อราตกลงมาที่ใบผัก มันจะมีสปอร์ อยู่ที่ใบผักทุกใบ แต่สปอร์ของเชื้อราจะงอกได้เฉพาะใบแก่ ที่ไม่แข็งแรงเท่านั้น ส่วนใบอื่นๆ  ที่แข็งแรงมันจะงอกไม่ได้ มันจะต้องส่งสารพิษที่มันสร้างได้จากการที่มันทำลายใบแก่ขึ้นไปยังใบที่แข็งแรงและท๊อกซินจะทำให้ใบที่แข็งแรงอ่อนแอลงสปอร์ที่ติดอยู่จึงงอกได้
5.ถ้าเป็นมากควรพักฟาร์มและฆ่าเชื้อแล้วค่อยปลูกใหม่

ที่มา : อาจารย์อรรถพร สุบุญสันต์